การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Our Impact by the Numbers

%

ของกลุ่มธุรกิจที่มีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

%

สัดส่วนพนักงานผู้พิการ

%

เป้าหมายสัดส่วนพนักงานหญิง

:

อัตราส่วนของพนักงานหญิงกับชาย

บริษัทที่ได้รับ Zero Accident Certificate

ราย/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน

อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน

ผลการดำเนินงาน และเป้าหมายความยั่งยืนเครือฯ สู่ปี 2573

%

%

ทุกกลุ่มธุรกิจที่มีการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากกิจกรรมขององค์กรและคู่ค้าโดยตรงที่มีความเสี่ยงสูงเป็นประจำ

แนวทางการบริหารจัดการ

เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินธุรกิจที่หลากหลายและมีห่วงโซ่คุณค่าที่ยาวและซับซ้อน และมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย เราจึงตระหนักถึงความเสี่ยงและความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นและสามารถส่งผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมกับสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน เครือฯ ได้ประกาศใช้นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติด้านแรงงาน และนโยบายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม และทบทวนว่ายังมีความเหมาะสมเหมาะกับสถานการณ์เป็นระยะๆ

แนวทางการบริหารจัดการของเครือฯ จะสอดคล้องกับหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) โดย เครือฯ ได้ประยุกต์ใช้ กระบวนการเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนรอบด้าน 8 ขั้นตอน ดังนี้

กระบวนการเฝ้าระวังในเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง

แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการ ด้านสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติด้านแรงงาน

นอกจากการแสดงความมุ่งมั่นในนโยบาย ทางเครือฯ ได้จัดทำแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อเป็นแนวทางให้กลุ่มธุรกิจภายในเครือฯ กลุ่มบริษัทภายใต้เครือฯ และคู่ค้าธุรกิจนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อก่อให้เกิดมาตรฐานการดำเนินงานเดียวกัน พร้อมกับป้องกันความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนี้ เครือฯ ยังได้บูรณาการแนวทางการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเข้าไปในกระบวนการควบรวมกิจการใหม่ ๆ ในอนาคตอีกด้วย

แนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของเครือฯ ครอบคลุมถึงสถานประกอบการของบริษัท คู่ค้า และบริษัทร่วมทุน โดยพิจารณาผลกระทบต่อผู้ถือสิทธิ์ (Rights Holders) ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่า และทำการทบทวนการประเมินความเสี่ยงทุกๆ 3 ปี และกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น

สำหรับปี 2564 เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ทำการวิเคราะห์ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับเครือฯ โดยได้นำบริบทในระดับประเทศ อุตสาหกรรม และระดับสากลมาพิจารณา รวมถึงสถานการณ์การระบาดทั่วโลกของ COVID-19 ที่ยาวนาน ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน และภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรง จึงมีประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชนที่เครือฯ ต้องเฝ้าจับตามอง เพราะมีแนวโน้มจะทำให้ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนมีการเปลี่ยนแปลงในหลายส่วน ทั้งในเรื่องความสำคัญ ผู้ที่อาจจะได้รับผลกระทบ และระดับความรุนแรงของผลกระทบนั้น ๆ

เมทริกซ์ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

  • เสรีภาพในการสมาคม
  • การเข้าถึงแหล่งน้ำและสุขาภิบาล
  • แรงงานบังคับ
  • สิทธิในที่ดิน
  • แร่ธาตุแห่งความขัดแย้ง*
  • กลุ่มเปราะบาง
  • การคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล*
  • สิทธิของชุมชน
  • สิทธิของพนักงาน
  • แรงงานเด็ก
  • การเลือกปฏิบัติ และการล่วงละเมิด
  • แรงงานข้ามชาติ
  • ความปลอดภัยและ อาชีวอนามัย

* ประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่

ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในปี 2564 พบว่ามีประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญจำนวน 5 ประเด็นได้แก่

โดยเครือฯ มีมาตรการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษชนที่สำคัญทั้ง 5 ประเด็นดังนี้

ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน หน่วยธุรกิจที่มีการดำเนินงาน แนวทางการดำเนินงาน เพื่อบรรเทาความเสี่ยง ผลรับที่ได้
ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย ทั่วทั้ง เครือเจริญโภคภัณฑ์ นโยบายและคณะกรรมการด้าน SHE และการมีส่วนร่วมของพนักงานในการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดการด้านสุขลักษณะของบุคคลรวมถึงพื้นที่ทำงานที่มีความปลอดภัยและเป็นหน่วยงานที่ไม่ทำให้เกิดโรคจากการทำงาน
การเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ทั่วทั้ง เครือเจริญโภคภัณฑ์ นโยบายด้านความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน นโยบายป้องกันการเลือกปฏิบัติ การล่วงละเมิด และการคุกคาม มีมาตรการการกำกับดููแลที่เข้มขึ้นและเป็นรููปธรรม
แรงงานเด็ก ทั่วทั้ง เครือเจริญโภคภัณฑ์ จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า ผลการประเมินความเสี่ยงในเรื่องแรงงานเด็กลดลง
การบังคับใช้แรงงาน และแรงงานข้ามชาติ ทั่วทั้ง เครือเจริญโภคภัณฑ์ การทบทวนนโยบายเรื่องการจ้างงานแรงงานข้ามชาติ ลดความเสี่ยงจากการที่แรงงานจะโดนบังคับเข้ามาทำงานจากบริษัทจัดหางานที่ไม่ได้มาตรฐานของเครือฯ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั่วทั้ง เครือเจริญโภคภัณฑ์ นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องความปลอดภัยและการป้องกันการคุกคามในระบบ Cyber นโยบายและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ระบบการรักษาความปลอดภัยและ ความตระหนักในความเสี่ยงของการถูกขโมยข้อมูลจากธุรกรรมผ่านระบบ Online

การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

แนวทางการบริหารจัดการ

ในฐานะบริษัทในเครือชั้นนำ ซี.พี. Group มีพนักงานมากกว่า 420,000 คนและมีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก ด้วยการดำเนินการดังกล่าว การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจึงมีความสำคัญสูงสุดในการดำเนินงาน กลุ่มบริษัทยึดมั่นในการยกระดับมาตรฐานสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยโดยกำหนดนโยบายและแนวทางความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสถานประกอบการตามกฎหมายและระเบียบของประเทศในทุกพื้นที่ที่กลุ่มดำเนินงาน มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยและอาชีวอนามัยโดย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หลักการสิบประการของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) และหลักการสถานที่ทำงานเพื่อสุขภาพที่สำคัญขององค์การอนามัยโลก (WHO)

กลยุทธ์การลดการเกิดอุบัติเหตุ

ความร่วมมือเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ตั้งเป้าหมายในการมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ และการเสียชีวิตทั้งในส่วนของพนักงาน ผู้รับเหมา และ ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้บริหารจากเครือฯ และทุกบริษัทภายใต้เครือฯ ให้การสนับสนุนความมุ่งมั่นดังกล่าว ผ่านการกำหนดกลยุทธ์ แผนงานและตัวชี้วัดระดับเครือฯ ระดับหน่วยธุรกิจ และระดับพนักงาน พร้อมกับมีการมอบหมายทรัพยากรบุคคลเพื่อขับคลื่อนสู่เป้าหมาย อย่างเต็มกำลัง โดยกลยุทธ์การลดการเกิดอุบัติเหตุของเครือฯ มีดังนี้