ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
ผลการดำเนินงาน และเป้าหมายความยั่งยืนเครือฯ สู่ปี 2573
ขยะอาหารและของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบเป็นศูนย์
บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ทั้งหมดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้
แนวทางการบริหารจัดการ
ด้วยบริบทของโลกในปัจจุบันที่มีจำนวนประชากรมากขึ้น ทำให้มีการอุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหนึ่งปัจจัยหลักของการก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายประเด็น เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนทรัพยากร และการก่อให้เกิดปัญหาขยะ เป็นต้น เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงมุ่งมั่นที่จะประยุกต์ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ ปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการดำเนินธุรกิจจากเดิมที่เป็นระบบเศรษฐกิจเส้นตรง (Linear Economy)
โดยให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด และเน้นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้ เครือฯ ได้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานให้แก่ทุกบริษัทภายในเครือฯ ในการดำเนินงานสู่เป้าหมายการลดขยะอาหารและของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบเป็นศูนย์และส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุรีไซเคิลในกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจภายใต้เครือฯ อีกทั้ง มีการกำหนดนโยบายเฉพาะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ นโยบายการจัดการของเสีย นโยบายการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และนโยบายบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน เพื่อเป็นหลักให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแต่ละสายธุรกิจ ในขณะเดียวกัน มีการส่งเสริมความตระหนักรู้ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการผลิตและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคตามแนวปฏิบัติของเศรษฐกิจหมุนเวียน เครือฯ เชื่อว่าการร่วมมือกันกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มจะช่วยผลักดันให้เกิดประโยชน์วงกว้างในระยะยาวซึ่งเป็นการส่งต่อคุณค่าสู่รุ่นถัดไป
หลักการ 9Rs
Guiding Principle
Reduce by Design
การใช้ผลิตภัณฑ์ให้เต็มประสิทธิภาพที่สุด ผ่านการออกแบบที่ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน
User to User
Refuse
การปฏิเสธที่จะใช้สารหรือวัตถุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการที่ผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะปฏิบัติการซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์น้อยลงเพื่อเปลี่ยนไปสู่วิถีชีวิตที่ยังยืนมากขึ้น
Reuse
การนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อยืดอายุการใช้งาน
Reduce
การลดการบริโภคหรือใช้ทรัพยากรและลดการสร้างของเสีย
User to Business
Repair
การซ่อมแซมของที่เสียแล้วให้ใช้งานได้เหมือนเดิม
Refurbish
ฟื้นฟูผลิตภัณฑ์เก่าและปรับปรุงใหม่ให้นำมาใช้ซ้ำได้และอยู่ในระดับคุณภาพที่กำหนด
Remanufacture
นำชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ถูกทิ้งมาใช้ในผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนเดิม
Business to Business
Repurpose
นำผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ในผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีลักษณะการใช้งานต่างจากเดิม
Recycle
การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
การบริหารจัดการของเสีย
เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการของเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มธุรกิจภายใต้เครือฯ ในส่วนของการผลิตและการบริการ ไปจนถึงคู่ค้าทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่เครือฯ ได้กำหนดไว้ จึงได้กำหนดกรอบการดำเนินงานการบริหารจัดการของเสียดังนี้
ข้อมูลการจัดการของเสียปี 2564
(พันตัน)
ปริมาณของเสียทั้งหมด
พันตัน
ขยะอาหารและของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบ
พันตัน
ปริมาณของเสียแบ่งตามวิธีการจัดการ
(พันตัน)
ของเสียทั่วไปแบ่งตามวิธีการจัดการ
ของเสียทั่วไปทั้งหมด
พันตัน
นำไปใช้ประโยชน์
3.76%ใช้ซ้ำ
17.62%นำกลับไปใช้ใหม่
60.71%ทำปุ๋ย
2.42%ทำเชื้อเพลิงพลังงาน
0.08%ทำวัสดุผสมสำหรับก่อสร้าง
6.59%ทำวัสดุผสมอาหารสัตว์
นำไปกำจัด
5.41%ฝังกลบ
0.45%เผาทำลาย
2.96%อื่นๆ
ของเสียอันตรายแบ่งตามวิธีการจัดการ
ของเสียทั่วไปทั้งหมด
พันตัน
นำไปใช้ประโยชน์
6.46%ใช้ซ้ำ
33.29%นำกลับไปใช้ใหม่
9.68%ทำเชื้อเพลิงพลังงาน
นำไปกำจัด
6.67%ฝังกลบ
7.48%เผาทำลาย
36.42%อื่นๆ
Sustainability in Action
การบริหารจัดการการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
เนื่องจากเครือเจริญโภคภัณฑ์มีการดำเนินธุรกิจประเภทอาหารและเครื่องดื่ม และประเภทจัดจำหน่ายอาหารเป็นหลัก มีการคำนึงถึงการบริหารจัดการการสูญเสียอาหารและขยะอาหารตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกและปศุสัตว์ไปจนถึงการบริโภคของลูกค้า เครือฯมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามนโยบายเพื่อลดการสูญเสียอาหารและบรรลุเป้าหมายขยะอาหารและของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบเป็นศูนย์ภายในปี 2573
ข้อมูลการจัดการการสูญเสียอาหารและขยะอาหารปี 2564
ปริมาณการสูญเสียอาหาร
แยกตามวิธีกำจัด
พันตัน
แยกตามประเภท
84.22%ธัญพืช
0.11%ผักและผลไม้
0.15%เนื้อสัตว์
6.55%เบเกอรี่
0.67%พร้อมรับประทาน
0.19%เครื่องปรุง
3.93%อาหารผสม
4.18%อื่น ๆ
ปริมาณขยะอาหาร
แยกตามวิธีกำจัด
พันตัน
แยกตามประเภท
0.10%ธัญพืช
4.00%ผลิตภัณฑ์จากนม
37.00%ผักและผลไม้
4.36%เนื้อสัตว์
3.31%สัตว์ทะเล
2.43%เบเกอรี่
0.06%อาหารแช่แข็ง
28.84%พร้อมรับประทาน
0.01%อาหารแห้ง
2.28%เครื่องดื่ม
0.04%ถั่วต่าง ๆ
0.05%พืชประเภทหัว
0.59%เครื่องปรุง
15.76%อาหารผสม
1.17%อื่น ๆ
การส่งมอบอาหารส่วนเกินให้กับชุมชน
กลุ่มธุรกิจในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ดำเนินโครงการต่างๆเพื่อลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร หนึ่งในการดำเนินการที่สำคัญคือการลดสูญเสียอาหารจากอาหารส่วนเกิน ซึ่งอาหารเหล่านี้ยังคงคุณภาพดีและสามารถบริโภคได้ แทนที่จะนำไปทิ้งให้กลายเป็นขยะอาหาร ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในแต่ละกลุ่มธุรกิจจึงได้ดำเนินการส่งมอบอาหารส่วนเกินเหล่านี้ให้กับมูลนิธิต่างๆที่ไม่แสวงหาผลกำไร เช่น มูลนิธิ SOS มูลนิธิ We Share และมูลนิธิดวงประทีป เพื่อนำไปจัดการส่งต่อให้กับกลุ่มผู้เปราะบางที่ด้อยโอกาสและในชุมชนที่ขาดแคลน
ในปี 2564 กลุ่มธุรกิจในเครือฯ ได้ทำการส่งมอบอาหารส่วนเกินทั้งหมดจำนวน 227.16 ตัน
Sustainability in Action
การบริหารจัดการการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ยั่งยืน
เครือเจริญโภคภัณฑ์กำหนดนโยบายและกรอบการดำเนินงานด้านบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนทั้งจากกระบวนการผลิตและกระบวนการอื่นๆตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตลอดจนให้ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน ‘5Rs’ ได้แก่ การสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้ผู้บริโภคลดการก่อให้เกิดของเสีย(Re-educate) การลดการใช้พลาสติก (Reduce) การรีไซเคิลพลาสติก (Recycle) การใช้วัสดุทดแทน (Replace) และการค้นคว้าวิจัยนวัตกรรม (Reinvent)
ข้อมูลการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ยั่งยืนปี 2564
(พันตัน)
บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ทั้งหมด
พันตัน
บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้
พันตัน
ปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ทั้งหมด แบ่งตามประเภท
(ตัน)