การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
เครือเจริญโภคภัณฑ์มุ่งส่งเสริมแนวทางปฏิบัติด้านการดูแลน้ำทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้บรรลุการจัดการและการอนุรักษ์น้ำอย่างยั่งยืน เครือฯจึงไปที่การลดการใช้น้ำ การรีไซเคิลน้ำและการใช้ซ้ำ และมีส่วนร่วมในโครงการกับชุมชนเพื่อสร้างความมั่นใจด้านการใช้น้ำอย่างรับผิดชอบและการปกป้องทรัพยากรน้ำ
นำน้ำมาใช้ต่อหน่วยรายได้ร้อยละ 20 เทียบกับปีฐาน 2563
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การดำเนินงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำมีส่วนช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของ Sustainable Development Goals จำนวน 2 เป้าหมายด้วยกัน
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Sustainable Development Goals Report 2023
Stakeholders Directly Impacted
เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินการประเมินและจัดลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินผลกระทบที่เรามีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นใดที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญและจะมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์และการดำเนินการของเราเมื่อเวลาผ่านไป ในปี 2565 ผลการประเมินพบว่าความมุ่งมั่นในการปกป้องทรัพยากรน้ำสร้างผลกระทบโดยตรงต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 5 กลุ่ม
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Stakeholder Engagement Report 2023
Our Impact by the Numbers
แนวทางการบริหารจัดการด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำแบบบูรณาการ
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบหมุนเวียน
การบริหารจัดการน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติขององค์กร Bodies
การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำของคู่ค้า
การบริหารจัดการด้านน้ำของชุมชน
การบริหารจัดการน้ำด้านลุ่มน้ำ
แนวทางการบริหารจัดการด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
แนวทางการบริหารจัดการน้ำของเครือเจริญโภคภัณฑ์มีรากฐานมาจากค่านิยมหลักและวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท เราให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำอย่างรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทาน แนวทางการบริหารจัดการน้ำเริ่มต้นด้วยการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับน้ำอย่างละเอียด การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนระดับโลก และการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดเพื่อปกป้องคุณภาพน้ำ ประสิทธิภาพและการอนุรักษ์น้ำเป็นหนึ่งในประเด็นที่มีความสำคัญต่อเครือฯ เราลงทุนในเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อลดการใช้น้ำในขณะที่ยังคงรักษาระดับการผลิตในระดับสูง ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงชุมชนท้องถิ่น รัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้เชี่ยวชาญ ถือเป็นหัวใจสำคัญของแนวทางการบริหารจัดการน้ำ เรามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเจรจาและความร่วมมือเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านน้ำร่วมกันและร่วมสร้างแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน
การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำแบบบูรณาการ
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้พัฒนากรอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำ เพื่อนำไปใช้กับ ทุกหน่วยงานในทุกกลุ่มธุรกิจของเครือฯ การจัดทำการประเมินจะคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงในหลายๆด้าน ทั้งด้านปริมาณน้ำที่นำมาใช้ของแต่ละหน่วยงานและด้านความเครียดน้ำ (Baseline water stress) โดยใช้เครื่องมือ Aqueduct Water Risk Atlas ของ World Resources Institute (WRI) ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จากนั้นจะนำผลการประเมินมาจัดระดับตามความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำ 3 ระดับเพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการด้านน้ำต่อไป
กรอบการดำเนินงานในการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ
ความเครียดนํ้า | ปริมาณน้ำที่นำมาใช้ | ความเสี่ยงด้านน้ำ |
---|---|---|
ระดับต่ำ - ปานกลาง |
+
ปริมาณน้อย-ปานกลาง
|
ระดับต่ำ |
+
ปริมาณมาก
|
ระดับปานกลาง |
|
ระดับสูง - สูงมาก |
+
ปริมาณน้อย
|
ระดับต่ำ |
+
ปริมาณปานกลาง
|
ระดับปานกลาง |
|
+
ปริมาณมาก
|
ระดับสูง |
แผนบริหารจัดการด้านน้ำ
ความเสี่ยงด้านน้ำระดับต่ำ
- ติดตามปริมาณน้ำที่นํามาใช้ผ่านระบบการรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
ความเสี่ยงด้านน้ำระดับปานกลาง
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ําตามหลักการ 5RS
- ติดตามปริมาณน้ำที่นํามาใช้ผ่านระบบการรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
ความเสี่ยงด้านนํ้าระดับสูง
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ําตามหลักการ 5RS
- ติดตามปริมาณน้ำที่นํามาใช้ผ่านระบบการรายงานผลอย่างต่อเนื่อง
- ประเมินความเสี่ยงระดับพื้นที่โดยใช้ Local Water Tool
- ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำให้กับคู่ค้ารายสําคัญ
เครือฯ ได้มีการทบทวนการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำให้กับทุกหน่วยงานการผลิตของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ทำให้สามารถระบุหน่วยงานการผลิตที่มีระดับความเสี่ยงด้านน้ำสูงได้้ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1 ของทั้งหมด โดยเครือฯ ได้มุ่งเน้นในการส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการด้านน้ำอย่างเข้มข้น และมีการติดตามผลการลดการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง
พื้นที่การผลิตของเครือ ฯ ที่มีความเสี่ยงด้านน้ำระดับสูง (จำแนกตามภูมิศาสตร์)
ในปี 2566 เครือเจริญโภคภัณฑ์ร่วมกับบริษัท Keystone จัดทำโครงการศึกษานำร่องในการประเมินความเสี่่ยงและโอกาสทางธุรกิจแบบ TNFD LEAP ด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับพื้นที่ปฏิบัติงาน (Site-specific Assessment) ซึ่งทรัพยากรน้ำถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญในการประเมิน โดยมีแนวทางการประเมินและสรุปผลโดยย่อ ดังนี้
ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่สำหรับการประเมิน ซึ่งพื้นที่ที่นำมาประเมินต้องอยู่ในพื้นที่ความเครียดน้ำ (Water Stressed Area)
ดำเนินการประเมินการพึ่งพาและผลกระทบของแต่ละพื้นที่ ซึ่งพบว่าฟาร์มไก่ ฟาร์มหมู และฟาร์มเกษตรมีการพึ่งพาการใช้ทรัพยากรน้ำในการเลี้ยงสัตว์ที่สูงมาก อันก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืดจากการผันน้ำ และสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของสายพันธุ์ ในขณะเดียวกัน ฟาร์มไก่ในบังกลาเทศยังพบมลพิษทางน้ำ ซึ่งทำให้คุณภาพน้ำลดลง
ดำเนินการประเมินความเสี่ยงของการพึ่งพาที่ได้ถูกระบุ พร้อมกำหนดแผนการบรรเทาผลกระทบ สำหรับประเด็นการพึ่งพาการใช้ทรัพยากรน้ำในการเลี้ยงสัตว์นั้น พื้นที่ที่พบความเสี่ยงมีการอนุรักษ์และลดการใช้น้ำสอดคล้องกับเป้าหมายการลดน้ำของเครือฯ สำหรับการบรรเทาประเด็นด้านมลพิษทางน้ำ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงมีการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการฟื้นฟูทางชีวภาพ
กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายกรอบความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก ได้แก่ ลดการนำน้ำมาใช้ร้อยละ 20 ต่อรายได้เทียบกับปีฐาน 2563 และนำนโยบายการจัดการควบคุมศัตรูพืชแบบไม่ใช้สารเคมีมาใช้ในฟาร์มที่เป็นเจ้าของทั้งหมดหากเป็นไปได้ ลดความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืชลงร้อยละ 50
ข้อมูลการจัดการทรัพยากรน้ำปี 2566
ปริมาณน้ำใช้ทั้งหมด
ล้านลูกบาศก์เมตร
น่้ำจืด TDS ≤ 1,000 mg/L
น้ำอื่นๆ TDS > 1,000 mg/L
ปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ / ใช้ซ้ำ
ล้านลูกบาศก์เมตร
คุณภาพน้ำทิ้ง
ค่า BOD
ค่า COD
ปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้
ปริมาณน้ำที่ปล่อยสู่ภายนอก
ปริมาณน้ำที่นำมาใช้ที่อยู่ในพื้นที่ความเครียดน้ำ *
คุณภาพน้ำทิ้ง - ค่า BOD (Biological Oxygen Demand)
ปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่/ใช้ซ้ำ
คุณภาพน้ำทิ้ง - ค่า COD (Chemical Oxygen Demand)
ปี 2566
สามารถลดปริมาณการนำกลับมาใช้ต่อหน่วยรายได้ ร้อยละ 38 เทียบกับปีฐาน 2563
นอกจากนี้ เครือฯ ได้มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้ง โดยมี ค่า BOD เฉลี่ย 16.86 มิลลิกรัม/ลิตร และค่า COD เฉลี่ย 57.21 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมระบายน้ำทิ้งของแต่ละประเทศ
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบหมุนเวียน
เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินงานด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำตามแนวทางของโครงการ CEO Water Mandate ภายใต้ UN Global Compact ซึ่งเครือฯได้มีการประยุกต์แนวคิดการจัดการน้ำแบบหมุนเวียน (Circular Water Management) ตามหลักการ 5Rs (Reduce, Reuse, Recycle, Restore และ Recover) โดย WBCSD (The World Business Council for Sustainable Development) มาใช้ในการบริหารจัดการการใช้น้ำภายในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรน้ำผ่านการดำเนินการต่างๆ สามารถนำน้ำมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งให้ความสำคัญในกระบวนการบำบัดน้ำเสียก่อนส่งคืนน้ำออกสู่ภายนอกองค์กรและแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยคุณภาพน้ำต้องได้มาตรฐานหรือดีกว่ามาตรฐานตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศ
-
นโยบายการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
การบริหารจัดการน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติขององค์กร
การปล่อยน้ำเสียที่ยังไม่ได้รับการบำบัดลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จะส่งผลกระทบเชิงลบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมในการทำลายสิ่งมีชีวิตและพันธุ์พืชในน้ำ ด้านสุขภาพของมนุษย์จากการเป็นแหล่งก่อให้เกิดเชื้อโรคและมลพิษทางน้ำ รวมถึงทำลายแหล่งน้ำที่มนุษย์ใช้เพื่ออุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน
เครือเจริญโภคภัณฑ์ตระหนักดีถึงการดำเนินธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพแหล่งน้ำ จึงมีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการน้ำเสียและตรวจสอบคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำของคู่ค้า
เครือเจริญโภคภัณฑ์มีความมุ่งมั่นในการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหารจัดการด้านน้ำ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เครือฯ จึงได้พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำของคู่ค้าซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญต่อธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้คู่ค้ามีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธภาพ ลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำร่วมกันรณรงค์และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้คงอยู่ต่อไป
ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ
จัดทำการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำให้กับคู่ค้า เพื่อจัดกลุ่มตามระดับความเครียดน้ำ (Water Stress) โดยใช้เครื่องมือที่เชื่อถือได้ระดับสากล
ระบบการบริหารจัดการด้านน้ำ
ร่วมมือกับคู่ค้าในการจัดทำแผนการบริหารจัดการด้านน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตรวจประเมินคู่ค้าด้านการบริหารจัดการน้ำ
เข้าร่วมประเมินและตรวจสอบระบบบริหารจัดการน้ำของคู่ค้า รวมถึงเรื่องการบำบัดน้ำเสียและคุณภาพน้ำทิ้งที่ได้มาตรฐาน
ส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
ร่วมกับคู่ค้าในการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์เรื่องการใช้น้ำอย่างประหยัด ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ทุกคนถึงความสำคัญในการช่วยกันอนุรักษ์น้ำ
โครงการด้านการบริหารจัดการน้ำของคู่ค้า
การบริหารจัดการด้านน้ำของชุมชน
น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนและเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มความมั่นคงทางน้ำและความยืดหยุ่นในสถานที่ที่เราดำเนินการผ่านโครงการริเริ่มการจัดการน้ำเพื่อชุมชน เรามุ่งมั่นที่จะจัดการกับข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ส่งเสริมการเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาภิบาลอย่างเท่าเทียมกัน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนทั่วโลกผ่านการร่วมมือกับชุมชนระดับภูมิภาค รัฐบาล และผู้มีส่วนได้เสีย
การฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการน้ำ
เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของนโยบายการบริหารจัดการน้ำ เครือฯ ได้มีการสื่อสารกับพนักงาน ซัพพลายเออร์ พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นการบริหารจัดการน้ำ นอกจากนี้ เครือฯ ยังได้พัฒนาสื่อการศึกษาออนไลน์ที่ครอบคลุมการจัดการประสิทธิภาพการใช้น้ำ การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ การลดการใช้น้ำในกระบวนการดำเนินงาน การบำบัดน้ำเสีย และการช่วยเหลือชุมชนในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำ อีกทั้ง เครือฯ ยังได้จัดอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดการน้ำและสมดุลน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวปฏิบัติในการจัดการน้ำอย่างถูกต้อง และพัฒนาแนวทางสำหรับการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่/การรีไซเคิลน้ำ การฝึกอบรมนี้จัดให้กับคณะกรรมการบริหารจัดการคุณภาพน้ำรีไซเคิล ผู้จัดการฟาร์ม/โรงงาน และพนักงานที่เกี่ยวข้อง
การบริหารจัดการน้ำด้านลุ่มน้ำ
เครือเจริญโภคภัณฑ์มีการจัดทำการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำตามกรอบการดำเนินงานให้กับทุกพื้นที่การผลิตของเครือฯ ทำให้สามารถระบุถึงลุ่มน้ำที่อยู่ในพื้นที่ความเสี่ยงด้านน้ำสูงได้ โดยจากผลการประเมินพบว่ามีทั้งหมด 14 ลุ่มน้ำหลักใน 6 ประเทศที่เครือฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ความเสี่ยงด้านน้ำสูง ดังนั้น เครือฯ จึงให้ความสำคัญในการร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการปกป้องและฟื้นฟูลุ่มน้ำ ที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดของทรัพยากรน้ำที่เราทุกคนต้องการนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคนในการเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดและเพียงพอ