การกำกับดูแลกิจการ
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
รากฐานของการกำกับดูแลกิจการที่มั่นคงจะส่งเสริมให้เครือเจริญโภคภัณฑ์สามารถกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจและความมุ่งมั่นของเราในการสร้างคุณค่าระยะยาวให้กับประเทศที่เราดำเนินธุรกิจ ผู้คน และพนักงานของเรา ด้วยเหตุนี้ เครือฯ จึงกำหนดให้หน่วยธุรกิจทั้งหมดปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างระมัดระวัง รวมถึงมาตรฐานของเครือฯ
ทุกกลุ่มธุรกิจได้รับการประเมินผลที่ได้รับการยอมรับของการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการ
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การดำเนินงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีส่วนช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของ Sustainable Development Goals จำนวน 2 เป้าหมายด้วยกัน
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Sustainable Development Goals Report 2022

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินการประเมินและจัดลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินผลกระทบที่เรามีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นใดที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญและจะมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์และการดำเนินการของเราเมื่อเวลาผ่านไป ในปี 2565 ผลการประเมินพบว่าผลงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีสร้างผลกระทบโดยตรงต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 11 กลุ่ม
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Stakeholder Engagement Report 2022
Our Impact by the Numbers
-
จรรยาบรรณธุรกิจ
-
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลผระโยชน์
-
นโยบายและแนวปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
-
นโยบายและแนวปฏิบัติการให้ รับของขวัญหรือผลประโยชน์อื่นใด
แนวทางการบริหารจัดการด้านการกำกับดูแล
เครือเจริญโภคภัณฑ์ยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการในการดำเนินธุรกิจของเรา นอกจากนี้เรายังปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกรายอย่างเท่าเทียม ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราดำเนินการอย่างโปร่งใสผ่านความรับผิดชอบต่อหลักการกำกับดูแลกิจการ และได้บูรณาการเข้ากับการดำเนินธุรกิจของเราอย่างเคร่งครัด
หลักการการกำกับดูแลกิจการเปรียบเสมือนพื้นฐานสำหรับคณะกรรมการบริษัทในการกำกับดูแลธุรกิจ เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีการเคารพสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม พร้อมทั้งมีการควบคุมและบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจสูงสุด การดำเนินงานทั้งหมดนี้ ช่วยเพิ่มมูลค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศชาติ สังคม และเครือเจริญโภคภัณฑ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้กำหนดกระบวนการทำงาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การประสานการดำเนินงานร่วมกับตัวจากบริษัทในเครือฯ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าแนวทางการดำเนินงานของเราเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการดำเนินงานนั้นเป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติในระดับเครือฯ ซึ่งกลไกการกำกับดูแลกิจการของเครือฯ ประกอบไปด้วย การจัดตั้งโครงสร้างการกำกับดูแล โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องคณะต่าง ๆ ขึ้นมากำกับดูแลกิจการ การกำหนดแนวทางการดำเนินงาน การสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วม การติดตามและการรายงานผลการดำเนินงาน ตลอดจนการเปิดเผยผลการดำเนินงาน
ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คณะกรรมการบริษัทของเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้อนุมัติจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความยั่งยืน ซึ่งมีคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรเป็นประธานของคณะกรรมการบริหารความยั่งยืน บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความยั่งยืนประกอบด้วยการกำกับดูแลและกำหนดนโยบายและเป้าหมายด้านความยั่งยืนเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับผู้มีส่วนได้เสีย กำหนดกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ขับเคลื่อนการดำเนินการด้านความยั่งยืน รวมถึงจัดการและติดตามการดำเนินงานด้านความยั่งยืนทั่วทั้งกลุ่ม เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานตามเป้าหมายสู่ความยั่งยืนเครือฯ ปี 2573 ทั้ง 15 เป้าหมายได้รับการดำเนินการอย่างเป็นระบบทั่วทั้งกลุ่ม เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รวมเป้าหมายดังกล่าวให้เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารตามขอบเขตความรับผิดชอบ ผลของการประเมินจะถูกสะท้อนในรุปแบบการกำหนดค่าตอบแทนประจำปี ซึ่งผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารจะถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการบริหารตามด้งยคณะกรรมการบริษัทตามลำดับ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสของกระบวนการประเมินผลและกำหนดค่าตอบแทน ลำดับชั้นการอนุมัตินี้เหมือนกับสายการรายงานของกิจกรรมด้านความยั่งยืน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างความยั่งยืน โปรดไปที่ โครงสร้างการกำกับดูแลความยั่งยืน
เป้าหมายและกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน | หน้าที่ความรับผิดชอบ | ||||
---|---|---|---|---|---|
ประธานคณะผู้บริหาร เครือฯ | ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร | ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน | ผู้บริหาร / ผู้จัดการของหน่วยธุรกิจ | พนักงาน | |
การกำกับดูแลกิจการ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การพัฒนาผู้นำและทรัพยากรบุคคล |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการปกป้องข้อมูล |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สุขภาพและสุขภาวะที่ดี |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
คุณค่าและการสร้างประโยชน์ ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงโภชนาการ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การบริหารจัดการนวัตกรรม |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |


แนวทางการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง
เครือเจริญโภคภัณฑ์ยึดมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยง โดยได้นำระบบการบริหารงานแบบบูรณาการด้านการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยงและการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ หรือ Integrated Governance, Risk Management and Compliance: Integrated GRC เข้ามาใช้ นอกจากนี้ เครือฯ ยังได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรตามมาตรฐานสากลของ Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) เพื่อให้มั่นใจถึงการปรับปรุงและความยืดหยุ่นของเครือฯ ในการจัดการความเสี่ยงที่ตอบสนองความต้องการของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
การสร้างวัฒนธรรมการจัดการความเสี่ยง
เพื่อให้เครือเจริญโภคภัณฑ์สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของการดำเนินธุรกิจ เครือฯ จึงได้ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างวัฒนธรรมการจัดการความเสี่ยงให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร โดยมีแนวทางดังนี้ การประกาศใช้นโยบายและแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ การทบทวนโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงให้มีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่มากยิ่งขึ้น การสื่อสารและการอบรมด้านความเสี่ยง และการเผยแพร่ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยง
เจริญโภคภัณฑ์มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานทุกระดับเอาใจใส่ต่องานประจำวันและตระหนักถึงกฎการบริหารความเสี่ยงของเครือฯ ดังนั้น เครือฯ จึงได้มีการรวมประเด็นด้านการบริหารความเสี่ยงไว้ในแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

การอบรมด้านความเสี่ยง
ในปี 2565 เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้จัดหลักสูตรอบรมให้กับผู้บริหารและพนักงานจากกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
- หลักสูตรประสิทธิภาพของการควบคุมความเสี่ยง หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจของผู้บริหารและพนักงานเกี่ยวกับมาตรการควบคุมความเสี่ยง และสามารถนำแนวทางและวิธีการติดตาม วัดผล และประเมินมาตรการบริหารความเสี่ยงของกิจการได้
- หลักสูตรการประเมินความเสี่ยงองค์กร หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นสำหรับผู้บริหารและพนักงานของกลุ่มธุรกิจ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้รับการออกแบบเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านการบริหารความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐานขององค์กรและส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานนำแนวทางการจัดการดังกล่าวไปใช้ในการระบุและประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ แผนงาน และการตัดสินใจในการดำเนินงาน ด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ
การวิเคราะห์ความเสี่ยงใหม่
เครือเจริญโภคภัณฑ์มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการกำกับดูแลกิจกรรม ความเสี่ยง และการตรวจสอบ คอยทำหน้าที่กำกับดูแลระบบการบริหารความเสี่ยงในภาพรวม วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงแนวโน้มของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง เทคโนโลยี เพื่อประเมินปัจจัยความเสี่ยง หรือแนวโน้มที่สำคัญ พร้อมทั้งพิจารณา และกำหนดมาตรการการรับมือกับปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญเหล่านั้น โดยในปี 2564 การวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงใหม่ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อเครือฯ และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในช่วงระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า ได้แก่ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การเลิกใช้พลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ได้โดยสังคม และการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน
ชนิดของความเสี่ยง: ด้านสิ่งแวดล้อม
คำอธิบายความเสี่ยง:
จากการวิจัยของสากลพบว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมของมนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตกว่า 1 ล้านสายพันธุ์ทั่วโลกต้องตกในความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ซึ่งการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์หนึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ และเป็นการเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคระบาดใหม่ ๆ ในอนาคต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านการขาดแคลนทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย รวมถึงความเป็นอยู่ของประชากรโลก และการเติบโตของธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการดำเนินงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มีธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของเครือฯ
ความเสี่ยงต่อเครือฯ:
ความเสี่ยงจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่อาจเกิดขึ้นกับเครือฯ ได้แก่ จำนวนผลผลิตทางการเกษตรลดลงเนื่องจากคุณภาพดินที่ต่ำลง ความเพียงพอของน้ำที่สะอาด และจำนวนโรคศัตรูพืชที่เพิ่มขึ้น และการไม่สามารถเข้าถึงวัตถุดิบที่มีคุณภาพรวมถึงวัตถุดิบแห่งอนาคต เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทำให้ความสามารถในการผลิตที่ต้นน้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การต้องการของทั่วโลกเพิ่มขึ้น และการขนส่งที่จำเป็นต้องหยุดชั่วคราวหรือถาวร ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบความมั่นคงของอาหาร เช่น การหยุดชะงักของกระบวนการผลิต การขาดแคลนอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพและจำเป็น และการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
การเตรียใความพร้อมเพื่อตอบสนอง:
เพื่อบริหารความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ประกาศใช้นโยบายการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และขับเคลื่อนให้ทุกกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการปกป้อง ดูแล รักษา และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ทุกกลุ่มธุรกิจและคู่ค้า อีกทั้งยังได้ประกาศเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้
- ภายในปี 2568 ดำเนินการปลูกต้นไม้จำนวน 20 ล้านต้น
- ภายในปี 2573 ร้อยละ 100 ของการหาจัดวัตถุดิบหลักต้องมาจากแหล่งที่ปราศจากการบุกรุกและตัดไม้ทำลายป่า
- ภายในปี 2573 ทุกกลุ่มธุรกิจมีโครงการหรือความร่วมมือกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องระดับสากล เพื่อบริการจัดการและติดตามความหลากหลายทางชีวภาพ
นอกจากนี้การขยายขอบเขตในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะความหลากหลายทางชีวภาพ เครือฯ จึงจัดทำนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน ที่มุ่งเน้นไปที่การสรรหาวัตถุดิบทางการเกษตรและทางทะเลอย่างรับผิดชอบ ว่าวัตถุดิบดังกล่าวไม่ได้มาจากการการรุกล้ำพื้นที่อนุรักษ์ ไม่มีการตัดไม้ ทำลายป่าเพื่อการเกษตร นอกจากนี้ เครือฯ ยังได้มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับสำหรับวัตถุดิบที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าคู้ค้าของเครือฯ มีการผลิตหรือสรรหาวัตถุดิบตามข้อกำหนด กฏหมายของสากล และนโยบายของเครือฯ อย่างเคร่งครัด
ชนิดของความเสี่ยง: ด้านสังคม
คำอธิบายความเสี่ยง:
พลาสติกที่ไม่ย่อยสลายเป็นภัยคุกคามในหลายมิติต่อสิ่งแวดล้อมและอารยธรรมของเรา เนื่องจากลักษณะที่มีทนทาน เป็นที่ใช้อย่างแพร่หลาย การจัดการของเสียที่ไม่มีประสิทธิภาพ และอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างกว้างขวาง พลาสติกเหล่านี้มีความทนทานต่อกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ ทำให้เกิดความกังวลอย่างกว้างขวางเนื่องจากผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศ สุขภาพของมนุษย์ และความยั่งยืนของทรัพยากร
ความเสี่ยงต่อเครือฯ:
แนวโน้มความต้องการพลาสติกทดแทนนี้ก่อให้เกิดทั้งความเสี่ยงและโอกาสต่อการดำเนินงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะในด้านความสามารถในการจัดหาพลาสติกทดแทนที่มีคุณภาพดี ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ สามารถคงความสดและสะอาดของผลิตภัณฑ์ได้ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นยังเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงของเครือฯ เนื่องจากราคาพลาสติกทางเลือกที่สูงกว่าพลาสติกทั่วไป รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อรองรับวัสดุพลาสติกใหม่ อย่างไรก็ตาม หากเครือฯ ไม่ได้วางแผนที่จะเปลี่ยนมาใช้พลาสติกทดแทนเราอาจจะเผชิญกับความเสี่ยงในแง่ของชื่อเสียง ความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการสูญเสียโอกาสทางการค้าทั้งในและต่างประเทศ
การเตรียใความพร้อมเพื่อตอบสนอง:
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการพึ่งพาการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ อีกทั้งยังได้ประกาศเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- ภายในปี 2573 บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ทั้งหมดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้
เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติก เครือฯ ได้กำหนดแนวทางบริหารจัดการการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ยั่งยืน ซึ่งเน้นไปที่ การยกเลิกการใช้พลาสติกที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ อีกทั้งยังแสวงหาวัสดุพลาสติกทางเลือก หรือวัสดุทางธรรมชาติ; ส่งเสริมการลงทุนวิจัยและพัฒนาในนวัตกรรมการกระจายสินค้าที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค; สนับสนุนและร่วมผลักดันหลักการ EPR (Extended Producer Responsibility) เพื่อขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตสู่การขยายเครือข่ายในการร่วมรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคให้กลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่; วิเคราะห์วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์เพื่อประเมินศักยภาพและหาโอกาสในการปรับปรุง; สนับสนุนและให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการกำหนดมาตรฐานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม; และให้ความสำคัญในการขจัดปัญหาเศษพลาสติกตลอดห่วงโซอุปทาน
ชนิดของความเสี่ยง: เทคโนโลยี
คำอธิบายความเสี่ยง:
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย แต่ก็ก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม แม้ว่านวัตกรรมจะช่วยเพิ่มความสามารถและคุณภาพชีวิตของเรา แต่ก็สามารถส่งผลกระทบที่คาดไม่ถึงต่อระบบนิเวศ สาธารณสุข และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การหยุดชะงักของระบบนิเวศเป็นปัญหาที่พบบ่อย เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมักนำมาซึ่งการสกัดทรัพยากรและการปรับเปลี่ยนระบบนิเวศ ส่งผลให้เกิดการทำลายที่อยู่อาศัยและมลพิษ นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมรุนแรงขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจผ่านการแบ่งแยกทางดิจิทัล ซึ่งจำกัดการเข้าถึงเครื่องมือและข้อมูลที่สำคัญสำหรับชุมชนชายขอบ ข้อกังวลด้านความเป็นส่วนตัวและการเฝ้าระวังเกิดขึ้นกับความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจละเมิดเสรีภาพส่วนบุคคล ผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งรวมถึงผลกระทบจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและการว่างงานที่ขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติ ตอกย้ำความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างเทคโนโลยีกับความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม ขยะอิเล็กทรอนิกส์และประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้งานอย่างรับผิดชอบของเทคโนโลยียังเรียกร้องความสนใจ โดยเน้นถึงความสำคัญของการออกแบบที่ยั่งยืน กฎระเบียบที่เข้มงวด และแนวทางด้านจริยธรรม
ความเสี่ยงต่อเครือฯ:
เครือเจริญโภคภัณฑ์อาจเผชิญกับผลกระทบจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเนื่องจากการดำเนินธุรกิจประเภทต่าง ๆ อันดับแรก การดำเนินงานของกลุ่มอาจได้รับผลกระทบเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตและการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานและความสามารถในการทำกำไร อันดับที่สอง ชื่อเสียงของกลุ่มบริษัทอาจได้รับผลกระทบหากไม่สามารถจัดการกับมาตรการจัดการที่ดีสำหรับข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และอันดับสุดท้าย นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสนับสนุนบรรทัดฐานและมาตรฐานที่เข้มงวดยิ่งขึ้นสำหรับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคม ดังนั้นเครือฯ อาจเผชิญกับความท้าทายทางกฎหมายและบทลงโทษหากการปฏิบัติทางเทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น
คำอธิบายความเสี่ยง:
เครือฯ ได้นำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมาใช้ในการดำเนินงานขององค์กร เช่น การใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อลดผลกระทบของการเติบโตทางเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เครือฯ ได้ดำเนินการลงทุนเป็นอย่างมากในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างโซลูชันระยะยาวที่สามารถช่วยลดการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากร และการสร้างขยะ นอกจากนี้ เครือฯ ยังสื่อสารกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำความเข้าใจต่อความกังวลและความคาดหวังของพวกเขาเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยี การสื่อสารที่โปร่งใสเพื่อจัดการข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมก่อให้เกิดความไว้วางใจและความปรารถนาดีของเครือฯ และผู้มีส่วนได้เสีย นอกจากนี้ การสนับสนุนกฎระเบียบที่สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรับผิดชอบภายในภาคส่วนยังสามารถช่วยกำหนดภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและใส่ใจต่อสังคมมากขึ้น
การปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้กำหนดหลักการดำเนินงานและการประพฤติปฏิบัติที่ดีไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจ ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งได้ส่งมอบให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับได้รับทราบ ทำความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินงาน
จรรยาบรรณธุรกิจกระบวนการระบุความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำโปรไฟล์ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ: การประเมินทั้งความเป็นไปได้และความรุนแรงของการไม่ปฏิบัติตาม มีการประเมินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการปฏิบัติตามและกำหนดมาตรการ


การอบรมด้านการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ประเภทของการสื่อสารที่เหมาะสมจะถูกเลือกโดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา และวัตถุประสงค์ตามแผนการสื่อสารและการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ ยังมีช่องทางการให้คำปรึกษาเพื่อชี้แจงข้อสงสัยต่าง ๆ ซึ่งประเด็นหรือปัญหาที่ได้รับจะถูกนำไปใช้ เพื่อปรับปรุงกระบวนการสื่อสารต่อไป
การมีส่วนร่วมของพนักงานในการพัฒนาการปฏิบัติตามกฎระเบียบ: เครือฯ ได้ใช้ผลการสำรวจการรับรู้ของพนักงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน ตลอดจนการฝึกอบรมและการสื่อสาร เครือฯ ได้นำผลการสำรวจมาวางแผนปรับปรุงการรับทราบของพนักงาน ดังนี้
- การพัฒนาจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
- การสร้างความตระหนักในการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
- การสร้างความตระหนักในการเข้าถึงจรรยาบรรณ นโยบาย แนวปฏิบัติ และระเบียบปฏิบัติ
การรับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส
เครือเจริญโภคภัณฑ์มีนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแส เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อร้องเรียนต่าง ๆ ทั้งจากบุคคลภายในและภายนอกที่ได้รับผลกระทบ หรือมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของเครือฯ นอกจากนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน สุจริต และโปร่งใส เครือฯ ได้กำหนดให้แนวปฎิบัติมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส/ผู้ร้องเรียน กระบวนการสอบสวน และบทลงโทษ นอกจากนี้ เครือฯ ยังได้รวมแนวปฏิบัติที่ระบุไว้ในหลักจรรยาบรรณ นโยบายและแนวปฏิบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ในเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ผลการปฏิบัติตามกฎระเบียบไม่เพียงแต่เชื่อมโยงกับค่าตอบแทนประจำปีของพนักงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโอกาสในการเติบโตในอาชีพอีกด้วย
จำนวนเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดของพนักงาน และมาตรการในการจัดการ สำหรับปี 2565
2565 | มาตรการในการจัดการ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กรณีร้องเรียน | อยู่ระหว่างการสืบสวน | ยืนยันว่ามีความเกี่ยวข้อง | ยืนยันว่าไม่มีความเกี่ยวข้อง | ตักเตือนด้วยวาจา | ตักเดือน ด้วยลายลักษณ์อักษร | พักงาน | เลิกจ้าง | |
ข้อร้องเรียนด้านจรรยาบรรณ และจริยธรรม (กรณี) | ||||||||
ฉ้อโกง | 3 | 2 | - | 1 | - | - | - | - |
ผลประโยชน์ทับซ้อน | 5 | 3 | - | 2 | - | - | - | - |
การไม่ดำเนินงานตามกฎระเบียบ | 7 | - | 5 | 2 | 3 | 2 | - | - |
การเลือกปฏิบัติ | - | - | - | - | - | - | - | - |
การล่วงละเมิด | 1 | - | 1 | - | 1 | - | - | - |
คอร์รัปชั่น | 1 | - | 1 | - | - | - | - | 1 |
การซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน | - | - | - | - | - | - | - | - |
การต่อต้านการแข่งขัน | - | - | - | - | - | - | - | - |
ข้อร้องเรียนด้านความปลอดภัยของข้อมูล (กรณี) | ||||||||
การละเมิดความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า | - | - | - | - | - | - | - | - |
รวม (กรณี) | 17 | 5 | 7 | 5 | 4 | 2 | - | 1 |
หมายเหตุ: เป็นจำนวนข้อร้องเรียนเฉพาะที่ได้รับผ่านช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนสำหรับผู้มีส่วนได้เสียบนเว็บไซต์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ https://grc.cpgroupsustainability.com
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ข้อมูลการละเมิด จรรยาบรรณ และจริยธรรม ปี 2565