เป้าหมายและผลการดำเนินงาน

เครือเจริญโภคภัณฑ์มีเป้าหมายที่จะยกระดับแนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียน และดำเนินกลยุทธ์เชิงนวัตกรรม เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ เรายังมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานของเรา เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินงานของเรา และส่งเสริมแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืน

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ (Scope 1 และ 2) จากเป้าหมายร้อยละ 42 ตาม Science-base Target

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

การดำเนินงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีส่วนช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของ Sustainable Development Goals จำนวน 6 เป้าหมายด้วยกัน


สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Sustainable Development Goals Report 2022

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินการประเมินและจัดลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินผลกระทบที่เรามีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นใดที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญและจะมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์และการดำเนินการของเราเมื่อเวลาผ่านไป ในปี 2565 ผลการประเมินพบว่าความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อการลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด 5 กลุ่ม


สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Stakeholder Engagement Report 2022

Our Impacts by the Numbers

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ล้านตัน CO2e เทียบเท่าต่อปี

พลังงานที่ใช้ทั้งหมด

ล้านกิกะจูล

ร้อยละ

สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน

ล้านบาท

ของการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม

แนวทางการบริหารจัดการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากการที่ทั่วโลกให้ความสนใจต่อการก้าวสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนเป็นศูนย์ เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงมองว่านี่เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับเครือฯ ดังนั้น เราจึงได้กำหนดเป้าหมาย Carbon Neutral ซึ่งได้รับการรับรองเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือ Science-base Target เป้าหมายนี้เป็นแนวทางในการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดของความตกลงปารีสในการจำกัดภาวะโลกร้อนให้ไม่เกิน 1.5oc.

เครือเจริญโภคภัณฑ์ให้ความสำคัญกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน การพัฒนาเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกกิจกรรม การพัฒนาระบบการขนส่งที่ทันสมัย รวดเร็ว และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ การจัดหาวัตถุดิบคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืน ไม่ทำลายป่า ปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว และลงทุนในการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

นโยบายและความมุ่งมั่นด้านการบริหารจัดการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เครือเจริญโภคภัณฑ์ตระหนักถึงความจำเป็นอันเร่งด่วนในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธุรกิจของเรา ด้วยเหตุนี้ เราจึงทุ่มเทในการดำเนินการตามความมุ่งมั่นที่ได้ระบุในนโยบายของเรา เพื่อรักษามาตรฐานสูงสุดด้านการบริหารจัดการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เครือฯ มุ่งมั่นในการนำปัจจัยด้านการบริหารจัดการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไปในทุกระบวนการการดำเนินธุรกิจและขั้นตอนการตัดสินใจของเรา เรายังให้ความสำคัญต่อการประเมินความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศและรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศไว้ในทุกด้านขององค์กร ตั้งแต่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ไปจนถึงการดำเนินงานในแต่ละวัน เพื่อให้แน่ใจว่าเครือฯ จะมีความแข็งแกร่งและหยืดหยุ่น นอกจากนี้ เครือฯ ยังมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยล่าสุดและข้อตกลงสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ เครือฯ ให้ความสำคัญของความริเริ่มด้านประสิทธิภาพของทรัพยากรและการอนุรักษ์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของเราและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เครือฯ ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรตลอดห่วงโซ๋คุณค่า ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การใช้น้ำ และการจัดการของเสีย เรามุ่งหวังที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความสามารถในการดำเนินงานภายใต้การขาดแคลนทรัพยากรและการหยุดชะงักที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้ เครือฯ ยังได้ร่วมมือกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ อาทิ กลุ่มคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจในการเสริมสร้างการบริหารจัดการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่อุปทาน เรามีการดำเนินการเพื่อจัดหาเครือข่ายการจัดหาที่เชื่อถือได้และยืดหยุ่นมากขึ้นโดยส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน การจัดหาอย่างมีจริยธรรม และการจัดการทรัพยากรร่วมกัน นอกจากนี้ เครือฯ ยังมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้มีส่วนได้เสียและชุมชนในระดับภูมิภาคอีกด้วย เราดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อประชากรกลุ่มเปราะบาง และส่งเสริมความยืดหยุ่นทางสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีผ่านการสนทนา ความร่วมมือ และโครงการที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน นอกจากนี้ เครือฯ ยังผลักดันนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ครอบคลุม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและความความสามารถในการรับมือการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกันก็ได้มีการดำเนินงานกับผู้กำหนดนโยบาย เครือฯ มีความหวังว่าการดำเนินงานของเราจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการดำเนินการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศโดยการทำงานร่วมกับรัฐบาลและผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรม

นอกเหนือจากการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ แล้ว เครือฯ ยังลงทุนในเทคโนโลยีด้านสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องกับเป้าหมายความสามารถในการฟื้นตัวต่อสภาพภูมิอากาศ เครือฯ ยังให้การสนับสนุนและให้เงินสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการบรรเทาสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว และความยืดหยุ่นของชุมชน ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้ผู้อื่น โดยเฉพาะคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจของเรา ให้มีการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

การบริหารจัดการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง เรามุ่งมั่นที่จะทบทวนและปรับปรุงนโยบาย กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดยอ้างอิงจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นใหม่ ผลตอบรับของผู้มีส่วนได้เสีย และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศตามช่วงระยะเวลา

การรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

ที่เครือฯ เราตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันความมุ่งมั่นของเราในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน การผ่านการรับรองมาตรฐาน EMS พิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างชื่อเสียงของเราให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย และการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทั่วโลก ในสถานการณ์ที่ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญกับ ช่วยให้เราลดความเสี่ยง เปิดโอกาสในการลดต้นทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เรามีความได้เปรียบทางการแข่งขัน นอกจากนี้ การรับรองระบบ EMS ยังส่งเสริมวัฒนธรรมการตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในหมู่พนักงานของเรา สร้างความภาคภูมิใจและการมีส่วนร่วมในความรู้ที่พวกเขาทำงานให้กับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเป็นอันดับแรก และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างแข็งขัน

การรับรอง / การตรวจสอบ สัดส่วนการรับรอง (ร้อยละ)
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้รับการตรวจสอบตามมาตรฐานสากล 45.47
การรับรอง / การตรวจสอบโดยบุคคลที่สามที่เชี่ยวชาญ 19
การรับรองภายใน / การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานใหญ่ 32.75
ทั้งหมด 97.22

การประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เครือเจริญโภคภัณฑ์ตระหนักถึงความสำคัญว่าความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของเราอย่างไร ในฐานะส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของเราในการบริหารจัดการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านสภาพภูมิอากาศอย่างครอบคลุม ซึ่งได้นำกรอบการรายงานของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) มาใช้ แนวทางเชิงรุกนี้ช่วยให้เราสามารถระบุ ประเมิน และจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะจัดการกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะเดียวกันก็เปิดรับศักยภาพในการเติบโตและนวัตกรรมที่ยั่งยืน

การประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ:

เราประเมินความเสี่ยงทางกายภาพ การเปลี่ยนผ่าน และชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นระบบผ่านการประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านสภาพภูมิอากาศของเรา การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อขั้นตอนการผลิต ระบบการกระจายสินค้า และความต้องการของตลาดเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการประเมินนี้ การทำความเข้าใจความเสี่ยงเหล่านี้สามารถช่วยให้เราสร้างแผนการฟื้นฟู ลดความเปราะบาง และปกป้องบริษัทของเราจากการหยุดชะงักทางธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

การประเมินโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ:

นอกเหนือจากการประเมินความเสี่ยง วิธีการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญต่อการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสยังทำให้เราพบความเป็นไปได้ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจที่มีคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ซึ่งเราเสาะหาแนวทางการดำเนินงานที่ไม่เพียงแต่เหมาะสมต่อธุรกิจของเรา แต่ยังตอยสนองต่อรูปแบบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาส การพัฒนาทางเทคโนโลยี และความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เครือฯ เห็นความสำคัญต่อการลงทุนในแหล่งพลังงานหมุนเวียน การใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน และผลิตผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน

การบูรณาการเข้าสู่การตัดสินใจ:

การประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่กิจกรรมที่ทำขึ้นและจบไป แต่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการตัดสินใจของเรา เครือฯ มีการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทของเราจะสามารถปรับตัว มีความสามารถในการแข่งขันได้ และมีความยั่งยืนในสภาพแวดล้อมภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาส ซึ่งเครือฯ ได้รวมการพิจารณาสภาพภูมิอากาศไว้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจลงทุนของเรา

แนวทางการไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 และบรรลุการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593

เครือเจริญโภคภัณฑ์มุ่งมั่นที่จะดำเนินการอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เราได้กำหนดเป้าหมายที่สำคัญสองประการ ได้แก่ การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 และบรรลุการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 เป้าหมายที่เหล่านี้แสดงออกถึงการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและสะท้อนวิสัยทัศน์ของเราสำหรับอนาคตที่สะอาดขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573

ภายในเจ็ดปีต่อจากนี้ เครือฯ ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างมากเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นกลางของคาร์บอน เรามุ่งมั่นที่จะสร้างสมดุลในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยความพยายามในการชดเชยที่ผ่านนวัตกรรม ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการจัดหาอย่างมีจริยธรรม เพื่อให้บรรลุผลการเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573

การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593

เป้าหมายของเราในการบรรลุการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 หลังปี 2573 ถือเป็นแนวทางระยะยาวที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดของเรา เรามุ่งมั่นที่จะกำจัดหรือชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดของเราอย่างสมบูรณ์ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทจะมีแนวทางที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน และการบริหารจัดการมลพิษทาอากาศ

การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม

เครือฯ และบริษัทในเครือให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้านมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นมลภาวะด้านอากาศ ด้านน้ำ ด้านของเสีย เป็นต้น ผ่านการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีมาตรฐานระดับสากล ซึ่งครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ และในทุกเขตประเทศที่เครือฯ เข้าไปดำเนินกิจการ ตลอดจนปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานให้เห็นความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อม การลดการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หรือ การลดการใช้พลาสติก เป็นต้น

สำหรับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เครือฯ ได้มีการตรวจสอบการใช้ทรัพยากร การใช้พลังงานต่างๆ รวมไปถึงการจัดการของเสียที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจอยู่อย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบและอุปกรณ์ตามมาตรฐานระดับสากล โดยเครือฯ ได้มีการลงทุนด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดผ่านโครงการหลากหลายประเภท ทั้งการพัฒนาพลังงานทดแทน อาทิ การลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานสกปรก หรือการใช้ความร้อนใต้พิภพ การลงทุนในพลังงานหมุนเวียน เช่น การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมไปถึงการลงทุนด้านการก่อสร้างอาคารประหยัดพลังงาน เป็นต้น

สรุปผลการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม

(ล้านบาท)

สรุปผลการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม

(หน่วย : ล้านบาท)

รายการ 2561 2562 2563 2564 2565
ค่าใช้จ่ายในการลงทุน 2,511 1,086 1,464 4,192 4,822
ค่าใช้จ่ายการดำเนินการ 310 204 220 474 530
ผลประหยัดจากโครงการ 854 486 590 1,144 1,545
การใช้พลังงานลดลง (กิกะจูล) 663,622 448,321 551,189 726,123 898,047

โครงการด้านการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม

CPRAM โรงงานสีเขียว เดินหน้าสู่ Net Zero

CPRAM มีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมจึงได้ติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาโรงงานทั้ง 7 แห่งทั่วประเทศไทย มูลค่า การลงทุน 200 ล้านบาท บนพื้นที่รวมกว่า 34,315 ตารางเมตร ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์กว่า 6,321 เมกกะวัตต์ ชั่วโมงต่อปี ช่วยลดต้นทุนการใช้ไฟฟ้าในโรงงานได้ประมาณ 9 ล้านบาทต่อปี และสามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือน กระจกได้ปีละมากกว่า 2,813 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะ CPRAM บ่อเงิน ซึ่งเป็นโรงงานที่ทันสมัยที่สุด โดยออกแบบ เทคโนโลยีตั้งแต่ด้านวัสดุที่ลดการนำ ความร้อนเข้าสู่อาคาร ใช้แนวคิดแสงธรรมชาติ เน้นระบบม่านบังแสง และออกแบบ ช่องลมช่วยระบายความร้อนภายในอาคาร ใช้ระบบปรับอากาศ ที่เน้นการประหยัดพลังงานอีกด้วย

อาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม SKY BRIGHT CENTER

อาคารของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิทิยาเขตอีอีซีสถาบัน การศึกษาภายใต้การบริหารและออกแบบโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นการออกแบบให้เป็นอาคารที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์ของ Thai’s Rating of Energy and Environmental (TREES) และ Thai Green Building Institute (TGBI) อาคารดังกล่าวได้มีการกำหนดทิศเพื่อเน้นการใช้แสง จากธรรมชาติสำหรับภายในอาคาร ได้ออกแบบให้ใช้หลอด LED ทั้งหมด และระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ออกแบบโดย คำนึงถึงคุณภาพอากาศภายในอาคาร อุณหภูมิ และความชื้นให้มี ความเหมาะสม มีการนำ ระบบ Building Automation System มาใช้ควบคุมเพื่อให้ระบบการทำ งานให้เป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้การจัดเตรียมพื้นที่สำหรับรองรับการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่่อช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าและเป็นพลังงาน ที่สะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Cเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตระหนักถึงการเป็นส่วนร่วมรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือฯ และตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และมุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส จึงได้กำหนดเป้าหมายและนโยบายที่จะเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral ภายในปี 2573 และได้มีการปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ แบ่งออกเป็นกิจกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Mitigation Action) และกิจกรรมที่จัดการความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation Action)

ความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์

นโยบายความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นตัวอย่างสำคัญที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อการดำเนินงานอย่างยั่งยืน และมีจริยธรรม เรารับผิดชอบต่อทุกขั้นตอนของอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการจัดการการสิ้นสุดอายุการใช้งาน และเราตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้คำนึงถึงปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในแต่ละขั้นตอน การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของเราให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและรักษามาตรฐานคุณภาพสูงสุด เพื่อให้มั่นใจถึงมาตรฐานด้านจริยธรรมและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เราร่วมมืออย่างใกล้ชิดคู่ค้าของเราเพื่อให้มั่นใจถึงขั้นตอนการจัดหาที่มีความรับผิดชอบ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เราได้ลงทุนในเทคโนโลยีประหยัดพลังงานสำหรับกระบวนการผลิตของเรา

เครือฯ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นอันดับแรก และเราปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ของเรามีคุณสมบัติตรงหรือเหนือกว่ามาตรฐานความปลอดภัย ด้วยข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกล่าวอ้างด้านสิ่งแวดล้อม ทางเลือกในการรีไซเคิล และคำแนะนำในการกำจัดที่ถูกต้อง การติดฉลากและการสื่อสารที่โปร่งใสช่วยให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจ ด้วยความพยายามที่จะสร้างสินค้าที่สามารถรีไซเคิลได้ง่าย เราพยายามอย่างเต็มที่ในการจำกัดการสร้างของเสียในระหว่างการผลิต และส่งเสริมการรีไซเคิลตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ เราตรวจสอบและติดตามขั้นตอนการดูแลผลิตภัณฑ์ของเราเป็นประจำตามความคิดเห็นของลูกค้าแ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ ตอบสนองต่อข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของเราที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

สำหรับข้อมูลเกี่ยวประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่นำมาพิจารณาในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ ท่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นโยบายความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์

การบริหารจัดการสารเคมีและวัตถุอัตราย

เครือเจริญโภคภัณฑ์ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายอย่างเหมาะสม และสารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการของเรา และในการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และนโยบายการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายของเครือฯ เพื่อลดและขจัดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายปี 2565: เครือฯ มุ่งมั่นที่จะลดหรือเลิกใช้สารเคมีและวัตถุอันตราย และสารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการในการดำเนินงานของบริษัทให้สอดคล้องกับการควบคุมและกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานระดับชาติและนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้สารเคมี เช่น. บัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายตามพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารที่ทำลายชั้นโอโซน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ประเทศไทย เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2565 (2022), การขึ้นทะเบียนการอนุญาตประเมินและการจำกัดการใช้สารเคมี (REACH) และการจำกัดการใช้สารอันตราย (RoHS) ฯลฯ เพื่อควบคุมการใช้สารเคมีตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์

ในปี 2565 ไม่มีกรณีความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีและวัตถุอันตรายในผลิตภัณฑ์และบริการของเรา

Sustainability in Action