การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
ผลการดำเนินงาน และเป้าหมายความยั่งยืนเครือฯ สู่ปี 2573
คะแนนความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียหลักจากการสำรวจของทุกกลุ่มธุรกิจ
แนวทางการบริหารจัดการ
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะรักษาสมดุลระหว่างการสร้างคุณค่า มูลค่าและความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ดำเนินการสื่อสาร รวมถึงการสำรวจการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียที่ครอบคลุมในทุกภูมิภาคทั่วโลกตามฐานการผลิตและการดำเนินธุรกิจของพื้นที่ที่เครือฯเข้าไปดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียนี้ดำเนินตามหลักการสากลที่มีมาตรฐานและสามารถประยุกต์ใช้กับทุกกลุ่มธุรกิจ เครือฯ ได้นำมาตรฐาน AA1000 Stakeholder Engagement Standard มาเป็นแนวทางในการพัฒนาแผนการมีส่วนร่วมและกลไกการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การเตรียมข้อมูลและบุคลากรที่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ ตลอดจนการรายงานและติดตามผล
นอกจากนี้ เครือฯ ได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่หลากหลายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์โดยร่วมมือกันขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่านการสื่อสาร จัดทำกิจกรรมและโครงการที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในวงกว้าง สร้างคุณค่าแก่สังคมและประเทศชาติอย่างยั่งยืน
กระบวนการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
ในปี 2564 เครือฯ ได้มีการทบทวนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยการทบทวนและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการกำกับดูแลกิจการ ความเสียงและการตรวจสอบ (GRA Steering Committee) โดยแบ่งเป็น 11 กลุ่มหลัก มีการแยก เจ้าหนี้ ออกจากผู้ถือหุ้นและนักลงทุน เพื่อให้กลยุทธ์ในการสร้างสัมพันธ์มีความเฉพาะเจาะจงและสามารถตอบสนองความต้องการได้ดียิ่งขึ้น
เครือเจริญโภคภัณฑ์ สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 11 กลุ่มหลักอย่างสม่ำเสมอเป็นขั้นตอน โดยมีการวางแผน เตรียมการ ดำเนินการ ทบทวนและปรับปรุงตามลำดับ ซึ่งทำให้เครือฯ สามารถรวบรวมประเด็นและข้อคิดเห็นที่ครอบคลุมมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง จากนั้นได้จัดลำดับความสำคัญของประเด็นดังกล่าวและนำประเด็นที่มีนัยสำคัญมาเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดแนวทางการตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มตามความเหมาะสม
รับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้เสีย
พันธมิตรเพื่อการขับเคลื่อนความยั่งยืน
เครือเจริญโภคภัณฑ์มุ่งมั่นที่จะสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศจากทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน

Sustainable Development (WBCSD)
เครือเจริญโภคภัณฑ์สนับสนุนการส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืนภายใต้กรอบ FReSH และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานภายใต้กรอบการทำงานในอนาคต (Future of Work)

United Nations Global Compact (UNGC)
เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง Global Compact Network Thailand (GCNT) และได้ถูกจัดเป็นบริษัทกลุ่ม LEAD โดยสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก (UN Global Compact)

World Economic Forum (WEF)
เครือเจริญโภคภัณฑ์ร่วมกับตัวแทนจากองค์กรธุรกิจระดับโลกเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และวิสัยทัศน์ในหัวข้อทิศทางเศรษฐกิจโลก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนต่างๆบนเวทีการประชุมระดับโลก World Economic Forum

การสนับสนุนภาคส่วนต่าง ๆ
เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะบริษัทชั้นนำระดับประเทศ ยึดมั่นในความมุ่งมั่นของการสร้างผลประโยชน์ให้กับประเทศชาติและประชาชน ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน และกระตุ้นเศรษฐกิจ ความเจริญรุ่งเรืองทางสังคมในพื้นที่ที่เครือฯ ดำเนินธุรกิจ
การสนับสนุนภาคส่วนต่าง ๆ ปี 2565