การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Our Impact by the Numbers

ต้น

จำนวนต้นไม้ที่ได้รับการปลูกและดูแล

ไร่

พื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับการพัฒนาแหล่งน้ำในไทย

> ไร่

พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยที่ได้รับการฟื้นฟู

คน

ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการต่างๆ

เป้าหมายความยั่งยืนเครือฯ สู่ปี 2573 และผลการดำเนินงาน

%

%

ของทุกกลุ่มธุรกิจดำเนินโครงการร่วมกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ หรือสากล เพื่อบริหารจัดการและติดตามความหลากหลายทางชีวภาพในการดำเนินธุรกิจ

แนวทางการบริหารจัดการ

เครือเจริญโภคภัณฑ์มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพมาโดยตลอด โดยยึดมั่นดำเนินการตามหลักการดังกล่าวตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้ง สถานประกอบการที่ไม่อยู่ในแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน และกฎกระทรวง ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ประเมินผลกระทบและกำหนดมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจอย่าง สม่ำเสมอ

นอกจากนี้ เครือฯ ยังให้ความสำคัญกับการจัดหาวัตถุดิบ ทางการเกษตรที่มาจากแหล่งที่รับผิดชอบและไม่บุกรุกพื้นที่ป่าและทรัพยากรทางทะเล มีส่วนร่วมผลักดันการปกป้อง ฟื้นฟูระบบนิเวศบนบกและทะเลเพื่อความสมดุลของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

การอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทั้งบนบกและทางทะเล

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสมดุลในระบบนิเวศ การส่งเสริมวิถีการดำรงชีวิต รวมถึงการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการเก็บและดูดซับก๊าซเรือนกระจก แต่นับวันยิ่งมีปัจจัยมากมายที่ส่งผลเชิงลบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งความถดถอยของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพได้สร้างความกังวลให้แก่นานาชาติ สหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น โดยให้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอยู่ในเป้าหมายที่ 15 ของ SDGs เพื่อให้องค์กรจากนานาประเทศทั่วโลกร่วมมือกันดำเนินการในการชะลอและหยุดยั้งการสูญเสียอันยิ่งใหญ่นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ในฐานะที่เป็นเครือข่ายพันธมิตรกับ United Nations Global Compact ได้ดำเนินการส่งเสริมและปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งทรัพยากรบนบกและทางทะเล ต่างเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด หากทรัพยากรดังกล่าวสูญเสียสมดุล ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวติ อันจะส่งผลต่อการดำรงชีวิตและระบบเศรษฐกิจในที่สุด เครือฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทั้งบนบกและทางทะเลจึงได้จัดทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องโดยการร่วมมือกับพันธมิตรหลายภาคส่วนเพื่อสร้างพลังร่วม ทั้งเครือข่ายประชารัฐ ภาคีเครือข่ายภาครัฐขเอกชน เครือข่ายภาคประชาสังคม และชุมชนในพื้นที่

โครงการต่างๆ ที่เครือฯ ได้ดําเนินการนั้นมีเป้าหมายในการลดผลกระทบด้านมลพิษ เสริมสร้างและพัฒนาการบริหารจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรประมง และทรัพยากรทางทะเล สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Goals: SDGs)

เป้าหมายที่ 14 (Life Below Water)

หรือการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล

เป้าหมายที่ 15 (Life on Land)

ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก

ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวมีเป้าประสงค์ย่อยดังนี้

เป้าหมายที่ 14 สิ่งมีชีวิตในท้องทะเล

  • การปกป้อง และฟื้นฟูระบบนิเวศ
  • ไม่อุดหนุนการประมงเกินขีดจำกัด
  • บริหารจัดการ และปกป้องระบบนิเวศ
  • เพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการใช้ทรัพยากรทะเลอย่างยั่งยืน
  • ลด และแก้ปัญหาผลกระทบการเป็นกรด
  • เพิ่มความสามารถและ ถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • ทำประมงอย่างยั่งยืน
  • สนับสนุนชาวประมงพื้นบ้าน
  • เพื่อพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลชายฝั่ง
  • บังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับทะเล

เป้าหมายที่ 15 สิ่งมีชีวิตบนพื้นดิน

  • การอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศบกและน้ำจืด
  • การสร้างหลักประกัน การแบ่งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียม
  • หยุดยั้งการทำลายป่า และฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม
  • ยุติการล่า และการขนย้ายพันธุ์พืช และสัตว์คุ้มครอง
  • ฟื้นฟูแผ่นดิน และดินที่เสื่อมโทรม
  • ป้องกันการนำเข้า และลดผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานระบบนิเวศ
  • สร้างหลักประกันว่าจะมีการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ภูเขา
  • บูรณาการเรื่องระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ เข้าไปสู่การวางแผน
  • ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ

ตัวอย่างโครงการการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทั้งบนบกและทางทะเลของเครือฯ

ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียและองค์กรภายนอก เพื่อปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

เครือเจริญโภคภัณฑ์ตระหนักดีว่าการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังนั้น เครือฯ จึงให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน

เครือฯ จึงมุ่งมั่นต่อการดำเนินธุรกิจที่สร้างสรรค์ประโยชน์ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เครือฯ ได้เข้าร่วมในการประชุมคู่ขนานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 หรือ CBD COP15 ที่จัดขึ้น ณ คุนหมิง ประเทศจีน โดยผู้บริหารเครือฯ ในประเทศจีนได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการดูแลระบบนิเวศบนเวที “Business and Biodiversity Forum” ที่ร่วมจัดโดย UN Convention on Biological Diversity และ Ministry of Ecology and Environment (MEE) ประเทศจีน

การประเมินต้นทุนทางธรรมชาติ เพื่อรักษาระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ

จากการที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เป็นสมาชิก World Business Council for sustainable Development (WBCSD) เครือฯ ได้นำ Natural Capital Protocol หรือกรอบการประเมินต้นทุนทางธรรมชาติที่ WBCSD ได้พัฒนาร่วมกับองค์กรระดับโลก ได้แก่ Conservation International, The B Team, PwC และ Sustain Value มาเป็นแนวทางในการประเมินต้นทุนทางธรรมชาติขององค์กร เพื่อศึกษาศักยภาพและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ประเมินเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปหาแนวทางการอยู่ร่วมกันระหว่างการใช้ประโยชน์และการรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติ เครือฯ ได้คัดเลือกโรงงานข้าวนครหลวง ของบริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด และบริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด มาเป็นโครงการศึกษานำร่องในการประเมินต้นทุนทางธรรมชาติ เนื่องจากโรงงานตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก อำเภอนครหบวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และใช้ระบบการขนส่งสินค้าทางน้ำเพื่อความสะดวกรวดเร็วผ่านทางท่าเรืออยุธยาและไอซีดี ทำให้โรงงานข้าวนครหลวงมีการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดทั้งผลกระทบและการพึ่งพากัน เครือฯ เล็งเห็นความสำคัญในการประเมินมูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อเป็นต้นทุนทางธรรมชาติของโรงงานข้าวนครหลวง

กรอบแนวทางการประเมิน

การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ของระบบนิเวศทรัพยากรบนบก

การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรบนบกถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้เรา ในฐานะประชาคมโลก มุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำได้ เพราะทรัพยากรบนบก โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าไม้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก โดยป่าไม้จะทำหน้าที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง ด้วยเหตุนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศที่เครือฯ มีการดำเนินงาน

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสมดุลในระบบนิเวศ การส่งเสริมวิถีการดำรงชีวิต รวมถึงการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการเก็บและดูดซับก๊าซเรือนกระจก แต่นับวันยิ่งมีปัจจัยมากมายที่ส่งผลเชิงลบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งความถดถอยของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพได้สร้างความกังวลให้แก่นานาชาติ สหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น โดยให้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอยู่ใน เป้าหมายที่ 15 ของ SDGs เพื่อให้องค์กรจากนานาประเทศทั่วโลกร่วมมือกันดำเนินการในการชะลอและหยุดยั้งการสูญเสียอันยิ่งใหญ่นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ในฐานะที่เป็นเครือข่ายพันธมิตรกับ United Nations Global Compact ได้ดำเนินการส่งเสริมและปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพมาอย่างต่อเนื่อง

โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย

*รวมต้นกาแฟ และต้นชา

การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของ ระบบนิเวศทรัพยากรทางทะเล

นอกเหนือจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้แล้ว เครือเจริญโภคภัณฑ์ยังให้ความสำคัญต่อการการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลผ่านการร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ และภาคประชาชน โดยเฉพาะชาวประมงชายฝั่ง

เครือเจริญโภคภัณฑ์ให้ความสำคัญในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลผ่านการดำเนินโครงการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟู และดูแลทรัพยากรทางทะเลหลากหลายโครงการ โดยการดำเนินโครงการของเครือฯ นั้นสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 14 (Life Below Water) หรือการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่มุ่งเน้นเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการต่างๆ ที่เครือฯ ได้ดำเนินการนั้นมีเป้าหมายในการลดผลกระทบด้านมลพิษ เสริมสร้างและพัฒนาการบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงและทรัพยากรทางทะเล สนับสนุนความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากรประมง รวมไปถึงผลกระทบทางทะเลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับเป้าประสงค์ภายในเป้าหมาย 14 นี้ มีเป้าประสงค์ย่อย 10 ข้อดังนี้

1. ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภท

2. บริการจัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง

3. ลดและแก้ปัญหาผลกระทบของการเป็นกรดในมหาสมุทร

4. ทำประมงอย่างยั่งยืน

5. เพิ่มพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลและชายฝั่ง

6. ยับยั้งรูปแบบการอุดหนุนการประมงที่มีส่วนทำให้เกิดการประมงเกินขีดจำกัด

7. เพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

8. เพิ่มพูนพัฒนาขีดความสามารถและถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการวิจัยทางทะเล

9. สนับสนุนชาวประมงพื้นบ้านรายเล็ก

10. บังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับทะเล

แนวคิด “SEACOSYSTEM เพื่อทะเลไทยยั่งยืน”

แนวคิด “SEACOSYSTEM เพื่อทะเลไทยยั่งยืน” คือโครงการความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชนเจ้าของพื้นที่ในการพัฒนาและฟื้นฟูท้องทะเลไทย พร้อมกับพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชาวประมงพื้นบ้าน โดยแนวคิด SEACOSYSTEM ยึดหลักการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลเชิงบูรณาการ ผ่านการดำเนินโครงการที่หลากหลาย อาทิ การส่งเสริมศักยภาพชุมชนและชาวประมง การปลูกป่าชายเลน การเพาะฟักตัวอ่อนและอนุบาลสัตว์น้ำเป็นต้น

การฟื้นฟูระบบนิเวศเชิงบูรณาการประกอบด้วย 5 ด้านสำคัญ
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

พื้นที่เพาะฟักและ ปกป้องสัตว์น้ำ

ตร.ม.

สร้างรายได้ให้กับชุมชน ชาวประมง

บาท

ปริมาณสัตว์น้ำที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน จับได้เพิ่มขึ้น

%

ชาวประมงพื้นบ้านได้รับประโยชน์ มากกว่า

หลังคาเรือน

Sustainability in Action