โครงการแม่แจ่มโมเดลพลัส

19 พฤษภาคม 2565

สาเหตุวิกฤตไฟป่าและหมอกควันทางภาคเหนือ สร้างปัญหาให้กับการจราจรทั้งทางอากาศและทางบก และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงเศรษฐกิจของคนในภูมิภาค เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีการกำหนดยุทธศาสตร์ ‘แม่แจ่มโมเดล’ ขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการป่าและดินกลายเป็นต้นแบบของการจัดการไฟป่า นำไปสู่การยกระดับเป็น ‘แม่แจ่มโมเดลพลัส’ เน้นการแก้ไขปัญหาเชิงระบบที่ตอบโจทย์ทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน โดยมีภาคีเครือข่าย 28 องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ขับเคลื่อนหลักโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้วยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านสิทธิในการใช้ประโยชน์พื้นป่าที่ดินทำกิน การผลิตสินค้า การตลาด การลงทุน การพัฒนาอาชีพ การจัดการทรัพยากร การพัฒนากลไกลกลุ่มองค์กรเครือข่าย และพัฒนาระบบฐานข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

เครือฯ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนแม่แจ่มโมเดลพลัส

จาก 7 ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแม่แจ่มโมเดลพลัส เครือฯ ได้ร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม และภาคีเครือข่าย อาทิ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ สภาบันอ้อผญา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านกองกาย ต.บ้านทับ และศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการมีส่วนร่วม อ.แม่แจ่ม เพื่อขับเคลื่อนแม่แจ่มโมเดลพลัสให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

ศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการมีส่วนร่วม อ.แม่แจ่ม

เพื่อที่จะช่วยในการจำแนกข้อมูลพื้นที่ถือครองเพื่อการทำกิน และพื้นที่ป่าไม้ออกจากชุมชน ปัจจุบันดำเนินงานคลอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่แจ่มกว่า 7 ตำบล 26 ชุมชน จาก 104 หมู่บ้าน

พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

ในพื้นที่ต้นแบบ 2 พื้นที่ (ต. บ้านทับ และ ต. แม่นาจร) พื้นที่ได้รับประโยชน์เข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร กว่า 1,000 ไร่

โครงการสร้างป่าสร้างรายได้

สร้างจิตสำนึกและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยชาวบ้าน สนับสนุนกล้าไม้เพื่อการปลูกฟื้นฟูป่า และสร้างรายได้ เช่น การปลูกไผ่ กาแฟ เป็นต้น

จัดตั้งวิสาหกิจชุมชน

เพื่อยกระดับชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่มและการบริหารจัดการกลุ่ม อาทิ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านกองกาย เป็นต้น

เป็นส่วนหนึ่งของ ‘ศูนย์วิจัยกาแฟชุมชนบ้านกองกาย อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่’ ของกรมป่าไม้

จัดตั้งเป็น ‘โรงเรียนสร้างป่ากาแฟ’ ที่หมู่บ้านกองกาย ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม โดยเข้าไปถ่ายทอดองค์ความรู้และการบริหารจัดการเพาะปลูกพืชเกษตร

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สร้างป่าสร้างรายได้

ขจัดปัญหาหมดควันจากไฟป่าในภาคเหนือ เพิ่มรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในพื้นที่