เกษตรยั่งยืนแม่วากโมเดล อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

28 เมษายน 2566

บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด
“พัฒนาการเข้าถึงแหล่งน้ำให้เกษตรกร สร้างรายได้จากผักอินทรีย์กว่า 200,000 บาท”

สภาพปัญหาด้านพื้นที่ด้านการขาดแคลนระบบน้ำเพื่อการทำเกษตร ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพหลักเพียงการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพราะเป็นพืชใช้น้ำน้อย แต่การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง และลาดชัน จึงใช้วิธีเผาซังข้าวโพด ทำให้สภาพดินเสื่อม ต้องลงทุนปัจจัยการผลิตสูง อีกทั้งราคาผลผลิตการเกษตรมีความผันผวน ทำให้เกษตกรมีรายได้ไม่แน่นอน อีกทั้งก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันไฟป่า มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน ชาวบ้านจึงต้องการเปลี่ยนอาชีพไปปลูกพืชมูลค่าสูง เพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้น จึงต้องการระบบน้ำเพื่อการเกษตร จึงมีแนวทางการดำเนินการเพื่อสนับสนุนพัฒนาการเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ในการลดเพื่อลดพื้นที่ การปลูกพืชเชิงเดี่ยว พัฒนาสู่ความยั่งยืนทางด้านอาชีพ ที่ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

แนวทางการดำเนินการภายใต้กลยุทธ์ 5 สร้าง คือ

  1. สร้างแรงจูงใจ : สร้างความเชื่อมั่นด้วยสิ่งใหม่ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. สร้างคน : สร้างบุคลากรต้นแบบในพื้นที่ ด้านการปกป้อง และฟื้นฟูระบบนิเวศ
  3. สร้างองค์ความรู้ : สร้างองค์ความรู้ในระดับพื้นที่พัฒนาความเข้าใจและสร้างกลไกการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
  4. สร้างพื้นที่รูปธรรม : สร้างพื้นที่ต้นแบบในการปรับเปลี่ยนสู่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
  5. สร้างต้นแบบ SOCIAL ENTERPRISE : สร้างธุรกิจเพื่อสังคมที่มีศักยภาพในการดำเนินงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่ เป็น SE ที่เพิ่มรายได้ให้คนในชุมชน โดยปัจจุบันชาวบ้านแม่วาก ได้ลงทุนการขุดบ่อน้ำเพื่อการเกษตร (บ่อหลาน) ต่อยอดจากบ่อแม่ และบ่อลูก เพิ่มขึ้นจำนวน 19 แห่ง

ผลจากการดำเนินการทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนา ยกระดับผลผลิตทางการเกษตร มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ตลอดทั้งปี มีการต่อยอดระบบน้ำเพื่อการเกษตร โดยพัฒนาแบรนด์ผลิตภัณฑ์ผักบ้านแม่วาก ชาวบ้านทางเลือกอาชีพ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ชุมชนยังตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น มีการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าต้นน้ำบ้านแม่วาก และเกิดคณะกรรมการ การใช้น้ำชุมชนบ้านแม่วาก ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง เกิดกลุ่มอาชีพ และเกิดกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาชุมชน